Friday, December 6, 2019

ลืมกันไปหรือยัง? ย้อนวัยเด็ก 10 การละเล่นพื้นบ้านของไทย

ลืมกันไปหรือยัง? ย้อนวัยเด็ก 10 การละเล่นพื้นบ้านของไทย

มารื้อฟื้นความสนุกสนานกับ 10 การละเล่นพื้นบ้านของไทย ที่หลายคนอาจจะหลงลืมไปแล้ว เพราะยุคนี้ไม่ว่าจะมองไปทางไหน เด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารได้ง่ายขึ้น เลยอาจจะทำให้หลงลืมการละเล่นแบบไทยๆ ไป วันนี้ทีนเอ็มไทยจะพาย้อนอดีตไปในวัยเด็ก ไปดูการละเล่นของแต่ละภาค จะมีการละเล่นอะไรบ้างนั้นต้องติดตาม ก่อนที่การละเล่นเหล่านี้จะเลือนหายไปทีละน้อยๆ จนสูญหายไป

ลืมกันไปหรือยัง? ย้อนวัยเด็ก 10 การละเล่นพื้นบ้านของไทย

1. งูกินหาง (การละเล่นภาคกลาง)

“แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน…” ประโยคในความทรงจำของใครหลาย ๆ คน

วิธีการเล่นงูกินหาง

เริ่มจากเสี่ยงทาย ใครแพ้ต้องไปเป็น “พ่องู” ส่วนผู้ชนะจะเป็น “แม่งู” มีหน้าที่คอยปกป้องเพื่อน ๆ คนอื่นที่เป็น “ลูกงู” จากนั้น “ลูกงู” จะเกาะเอวแม่งูและต่อแถวกันไว้ ยืนเผชิญหน้ากับ “พ่องู” พร้อมร้องโต้ตอบ โดยพ่องูจะถามว่า

พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”

แม่งู : “กินน้ำบ่อโสกโยกไปโยกมา” (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”

แม่งู : “กินน้ำบ่อหินบินไปบินมา” (พร้อมแสดงอาการบินไปบินมา)

พ่องู : “แม่งูเอ๋ยกินน้ำบ่อไหน”

แม่งู : “กินน้ำบ่อทรายย้ายไปย้ายมา” (พร้อมแสดงอาการส่ายตัวไปมา)

จากนั้นพ่องูจะพูดว่า “กินหัวกินหางกินกลางตลอดตัว” แล้ววิ่งไล่จับลูกงูที่กอดเอวอยู่ ส่วนแม่งูก็ต้องป้องกันไม่ให้พ่องูจับลูกงูได้ เมื่อลูกงูคนไหนถูกจับ จะออกจากแถวมายืนอยู่ด้านนอก เพื่อรอเล่นรอบต่อไป หากพ่องูแย่งลูกได้หมด จะถือว่าจบเกมแล้วเริ่มเล่นใหม่ (ชมคลิป)

2. ขาโถกเถก หรือ การเดินไม้ไผ่ (กีฬาพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

อุปกรณ์ขาโถกเถก ทำจากไม้ไผ่ยาวประมาณ 2-3 เมตร จำนวน 2 ท่อน จากนั้นเจาะรูเพื่อทำขาสำหรับวางเท้าหรือแขนงที่ติดมากับกิ่งของไม้ไผ่ ให้สามารถขึ้นไปยืนแล้วเดินได้ โดยจะมีความสูงตามต้องการที่เหมาะกับความสามารถในการทรงตัวของผู้เล่น

วิธีการเล่น มีทั้งการขึ้นไปยืนบนขาโถกเถก แล้วเดินแข่งกันเข้าเส้นชัย หรือเต้นประกอบเพลงบนขาโถเถก โดยห้ามตกลงมา โดยการเล่นนี้เป็นการเลียนแบบคนในสมัยโบราณ เวลาที่ฝนตกเฉอะแฉะ บางครั้งจะมีสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ แมลงป่อง หรืองูพิษ ตามพื้นดิน คนไทยในสมัยโบราณจึงใช้ไม้ต่อขาสูง เพื่อใช้เดินผ่านไป

3. รีรีข้าวสาร (การละเล่นภาคกลาง)

เพลงที่ร้องว่า “รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน คดข้าวใส่จาน คอยพานคนข้างหลังไว้”

วิธีการเล่น “รีรีข้าวสาร” ต้องมีผู้เล่น 2 คนหันหน้าเข้าหากัน และเอามือประสานกันไว้เป็นรูปซุ้ม ส่วนผู้เล่นคนอื่น ๆ จะกี่คนก็ได้จะยืนเกาะเอวกันไว้ตามลำดับ หัวแถวจะพาขบวนลอดซุ้มพร้อมร้องเพลง “รีรีข้าวสาร” จนเมื่อถึงประโยคที่ว่า “คอยพานคนข้างหลังไว้” ผู้ที่ประสานมือเป็นซุ้มจะลดมือลงกันไม่ให้คนสุดท้ายผ่านเข้าไป เรียกว่า “คัดคน” และเล่นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนคนหมด

4. ม้าก้านกล้วย (การละเล่นภาคกลาง)

 การละเล่นไทย, ประวัติการละเล่นไทย, การละเล่นไทย 4 ภาค, การละเล่นไทย หมายถึง, การละเล่นไทยภาคกลาง, เพลงการละเล่นไทย เนื้อเพลง, เรียงความเรื่อง การละเล่นไทย, ภาพการละเล่นไทย, การละเล่นไทย การ์ตูน

การนำเอาของใกล้ตัวจากต้นกล้วย มาทำก้านกล้วยเพื่อขี่เป็นม้า และแข่งขันกัน

วิธีทำม้าก้านกล้วย เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วยออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทำเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นำแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสายบังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า

5. เสือกินวัว (การละเล่นภาคกลาง)

โดยมีผู้เล่นเป็นเสือคนหนึ่ง เป็นวัวคนหนึ่ง นอกนั้นเป็นคอก จับมือต่อกันเป็นวง ห่างกันพอช่วงแขน วัวอยู่ในคอก เสืออยู่นอกคอก เสือจะพยายามวิ่งเข้าไปจับวัวในคอก วัวก็ต้องพยายามหนี ถ้าเสือเข้าไปในคอกได้ วัวก็ต้องวิ่งหนีออกนอกคอก คอกก็ต้องพยายามกันเสืออย่างเหนียวแน่นไม่ให้มือหลุดจากกันได้ แต่จะเปิดทางให้วัวหนีเสือโดยสะดวก เสือและวัวต้องมีไหวพริบว่า จะผ่าคอกทางไหน เสือบางตัววิ่งชนคอกพังเป็นแถบก็มี การไล่ และการหนีของเสือและวัว (ชมคลิป)

6. ตีวงล้อ (การละเล่นภาคกลาง)

 การละเล่นไทย, ประวัติการละเล่นไทย, การละเล่นไทย 4 ภาค, การละเล่นไทย หมายถึง, การละเล่นไทยภาคกลาง, เพลงการละเล่นไทย เนื้อเพลง, เรียงความเรื่อง การละเล่นไทย, ภาพการละเล่นไทย, การละเล่นไทย การ์ตูน

เป็นของเล่นพื้นบ้านของไทยที่เด็กๆ ใช้ไม้ตีวงล้อให้หมุนวิ่งไปข้างหน้า ผู้เล่นจะวิ่งตามใช้ไม้ตีไปเรื่อยๆ บางทีจะตีวงล้อกลมแข่งขันกัน หรือใช้สำหรับแข่งวิ่งผลัด ล้อวงกลมบางทีก็เรียกว่า ล้อวงกลมใช้ไม้ตี หรือตีลูกล้อ

7. หมากไม้ (การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

วิธีการเล่น ทอดไม้ลงไปบนพื้น เริ่มเก็บไม้ทีละไม้จนหมด แล้วจึงทอดไม้ใหม่อีกครั้ง เริ่มเก็บทีละสองไม้ เก็บไปจนหมด แล้วทอดไม้ใหม่ เริ่มเก็บทีละสามไม้ ไปเรื่อยๆ จนจบเกม

ก่อนจะจบเกม ก็มาถึงขั้นที่ยากที่สุด คือต้องโยนมะนาวขึ้นสูงๆ แล้วนำไม้ไผ่สอดในกำมือ (ชมคลิป)

8. กระโดดเชือก / กระโดดหนังยาง (การละเล่นภาคกลาง)

การกระโดดเชือกมี 2 แบบ คือ การกระโดดเชือกเดี่ยว และการกระโดดเชือกหมู่ ใช้หนังหนังยางถักร้อยจนเป็นเส้นยาว หรือ เชือกปอ ยาวพอที่จะตวัดพ้นศีรษะ ขมวดหัวท้ายเพื่อกันเชือกลุ่ย เวลาเล่นแกว่งเชือกด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วกระโดขึ้นลงตรงกลาง การกระโดดเชือกหมู่จะใช้เชือกที่ยาวกว่า มีผู้เล่นสองคนจับหัวท้ายข้างละคน คอยแกว่งหรือไกวเชือก สามารถกระโดดได้พร้อมกันหลายๆ คน

9. มอญซ่อนผ้า (การละเล่นภาคกลาง)

การละเล่นโดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น “มอญ” ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น “มอญ” จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า “มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ”

ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น “มอญ” จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว “มอญ” จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น “มอญ” แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี “มอญ” รอบวง “มอญ” ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น “มอญ” แทน

10. จูงนางเข้าห้อง (การเล่นของภาคใต้)

อุปกณ์ ใช้แผ่นกระดาษ (ตีตารางเป็นรูปก้นหอย) เบี้ยสำหรับทอด 5 ตัว และเบี้ยแทนตัวนางและแทนตัวผู้เล่นตามจำนวนนั้น

วิธีเล่น จับไม้สั้นไม้ยาวว่าใครจะได้ทอดเบี้ยก่อนและตกลงกันว่าจะนับทางหงายหรือคว่ำ ถ้าทอดเบี้ยได้เท่าไรก็นับช่องเดินเบี้ยของตนไปเท่านั้น แต่ถ้าทอดได้ 1 เดินไป 1 ตาราง แล้วมีสิทธิ์ทอดอีกครั้ง หรือถ้าทอดได้ 5 ก็เดินไป 5 ตารางแล้วทอดได้อีกครั้ง ถ้าเบี้ยคนที่สองหรือสามไปตกช่องเดียวกับคนแรกก็เตะคนแรกกลับลงมา ถ้าใครเดินได้จนถึงนางในห้องก็จูงนางออกมา แล้วนับตารางตามวิธีเดิม ถ้าจูงมาแล้วมาเจอใครมาตกช่องนั้นพอดี ผู้นั้นมีสิทธิ์จูงนางแทน ถ้าใครจูงนางออกมาได้ก็เป็นผู้ชนะ (ชมคลิป)

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงการละเล่นพื้นบ้านของไทยบางส่วนเท่านั้นนะคะ ยังมีการละเล่นที่สนุกสนานอีกมากมาย รอให้น้องๆ ทุกคน ย้อนกลับไปเล่นอีกเพียบ สามารถติดตามคลิปดีๆ ได้ที่ ไทยดี มีมารยาท

Link Source : https://teen.mthai.com/variety/173297.html

การละเล่นไทย, ประวัติการละเล่นไทย, การละเล่นไทย 4 ภาค, การละเล่นไทย หมายถึง, การละเล่นไทยภาคกลาง, เพลงการละเล่นไทย เนื้อเพลง, เรียงความเรื่อง การละเล่นไทย, ภาพการละเล่นไทย, การละเล่นไทย การ์ตูน

No comments:

Post a Comment